หลังจากที่เลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ตามงบที่กำหนดไว้แล้ว การเลือกซื้อตามการใช้งานก็เป็นอีกวิธีการเลือกซื้อที่เมาะสม ซึ่งการเลือกซื้อตามการใช้งานนี้ควรที่จะดูงบในการซื้อเป็นองค์ประกอบอีกด้วย สำหรับ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่เมาะสมสำหรับงานแต่ละประเภทก็มีดังต่อไปนี้ สำหรับงานแบบ SOHO ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ตาม Office แล้วส่วนใหญ่จะใช้งานแค่เพียงทำงานเอกสารอย่างพวกโปรแกรม Office ทั่วๆ กับการเล่น Internet เท่านั้น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงมากเท่าที่ควรนัก การเลือกการ์ดราคาประหยัดจึงเป็นการเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุดโดยเฉพาะพวก On board หรือถ้าที่ตัวเมนบอร์ดนั้นไม่มี Graphic Card (กราฟิกการ์ด) On board มาให้ใช้งานการเลือกการ์ดราคาประหยัดอย่าง SiS 6326, GeForce2 MX 400 หรือ Radeon 7000 มาใช้งานก็ถือได้ว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมากในการ ใช้งานทางด้านกราฟิก สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทางด้านกราฟิกนั้นก็เป็นคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความเร็วในการประมวลผล และประสิทธิภาพที่จะให้ภาพออกมาสวยงาม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้านกราฟิกทั้ง 3 มิติ หรือ 3 มิติ ต่างก็ต้องการส่วนนี้เป็นอย่างมาก การ์ดที่ควรเลือกมาใช้งานนั้นควรจะเป็น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) รุ่นใหญ่ๆ อย่าง GeForce FX 5900 ขึ้นไป หรือ Radeon 9800 ขึ้นไป สำหรับงานออกแบบภาพโครงสร้าง 3 มิติ นั้นการเลือกซื้อการ์ดพวก Quadro หรือ FireGL มาใช้งานก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับการ ใช้งานในเรื่องของการเล่นเกม ในส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเล่นเกมนั้นการที่จะเลือก Graphic Card (กราฟิกการ์ด) มาใช้งานนั้นค่อนข้างที่จะยากเพราะว่าแต่ละคนย่อมที่อยากจะได้การ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้งานอย่างแน่นอน โดยการ์ดที่ใช้นั้นสามารถที่จะแบ่งระดับไปตามราคาซึ่งราคาอยู่ในระดับล่างก็จะมีการ์ดพวก GeForce FX 5200, GeForce FX 5500, Radeon 9200 และ Radeon 9550 ซึ่งมีราคาไม่แพงมากนัก สำหรับการ์ดระดับกลางนั้นก็จะมีการ์ด GeForce FX 5700 และ Radeon 9600 ที่น่าสนใจเลือกซื้อมาใช้งานส่วนระดับสูงนั้นมีอยู่หลายตัวที่น่าเลือกซึ่งก็มี GeForce FX 5950 Ultra, GeFroce 6800 GT, GeForce 6800 Ulta, Radeon 9800 XT, Radeon X800 Pro ซึ่งราคานั้นเกือบๆ 30,000 บาทเลยทีเดียว การเลือกซื้อนั้นควรดูที่งบเป็นหลักสำหรับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ใน ใช้งานในส่วนของ Entertainment การใช้งานด้าน Entertainment ที่เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ด้านความบันเทิง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากว่าการชมภาพยนตร์นั้นเพื่อที่จะให้คุณภาพของภาพออกมาดี Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ก็มีส่วนที่จะช่วยได้มา สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อการ์ดในคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ควรเลือกที่พอร์ตต่อเชื่อมที่ตัวการ์ดมีมาให้ ถ้าให้ดีควรเลือกซื้อการ์ดที่มีพอร์ตทั้งแบบ D-Sub, DVI, S-Video และ ViVo ซึ่งจะช่วยให้สามารถที่จะต่อแสดงภาพไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากมาย ใช้งานแบบ PC Server สำหรับ PC Server เองก็เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบที่ใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ไม่ค่อยสูงมากนักดังนั้นการนำเอาการ์ด On board หรือการ์ดระดับล่างๆ มาใช้งานถือไดว่าเป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าควรนำเอางบไปเพิ่มในส่วนของ Hard Disk และ RAM ให้มากๆ ไว้จะดีกว่า
จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ละประเภทก็มีการใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) แตกต่างกันออกไปสำหรับคอมพิวเตอร์ทีใช้เล่นเกมนั้นเป็นเครื่องที่สามารถจะเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ได้ตามงบประมาณที่มียิ่งเลือกการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงมากเท่าไร ราคาก็จะแพงตามขึ้นไปด้วยทางที่ดีควรเลือกระดับกลางๆ ไว้จะเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากที่สุด และในการเลือกซื้อการ์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาในช่วงนี้ก็ยังมีรายละเอียดอื่นที่น่าสนใจมากโดยก็มีดังต่อไปนี้
VGA Onboard ว่าแตกต่างกับ VGA แบบธรรมดาอย่างไร
สำหรับผู้ที่กำลังต้องการที่จะเลือกซื้อการ์ดแสดงผลทางด้านกราฟิก หรือ VGA นั้น หลายๆ ท่านคงยังจะสับสนกับการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อไปดูสเปกของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามร้านที่ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นพับที่แจกกัน หรือแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อประชาชนของรัฐบาล นั้นคือคำว่า VGA Onboard ว่าแตกต่างกับ VGA แบบธรรมดาอย่างไร ก็ต้องขออธิบายก่อนว่าคำว่า Onboard นั้นคือการนำเอาวงจรการทำงานของการควบคุมหรือแสดงผลไว้บนตัว Mainboard เพื่อให้สามารถที่จะใช้งานได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องซื้อ Card เมื่อต่อเพิ่ม และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเลือกซื้อลง ซึ่งวงจรในส่วนของ VGA ที่นำมา Onboard นั้นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ การนำเอาวงจรทำการรวม (Integrate) ไว้ในชิป North bridge กับ นำเอาชิปกราฟิกมาต่อเชื่อมบนตัว Mainboard เลย ซึ่งการทำงานของ VGA Onboard นั้นจะมีความเร็วเทียบเท่ากับการทำงานของ VGA Card แบบ AGP ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวชิปว่าสามารถที่จะรองรับการทำงานได้ที่ AGP1X, 2X, 4X หรือ 8X โดยใช้หน่วยความจำรวม หรือแยกกับหน่วยความจำหลัก ถ้าใช้รวมกับหน่วยความจำหลักนั้นจะทำให้ขนาดหน่วยความจำหลักมีขนาดลดลงตัวอย่างเช่น VGA Onboard ใช้หน่วยความจำ 8MB รวมกับหน่วยความจำหลัก ถ้าหน่วยความจำหลักมีขนาด 128MB จะเหลือ 120MB ในการใช้งาน หรือประมวลผลซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องลดลงไป โดยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน VGA Onboard เป็นที่แน่นอนว่าย่อมเป็นรองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ VGA Card และยิ่ง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้ชิปในระดับสูงๆ ด้วยแล้วยิ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเป็นอย่าง และถ้าตัว Mainboard ที่มี VGA Onboard แล้วไม่มีช่องต่อเพิ่ม หรือ Slot แบบ AGP มาให้แล้วนั้น การอัพเกรดเพื่อจะใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) รุ่นอื่นยิ่งเป็นไปได้ยากมาก ต้องอาศัย Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่เป็น Slot PCI ซึ่งหาได้ยากมากในปัจจุบัน ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ที่มีงบประมาณน้อยการเลือกใช้ VGA Onboard เป็นสิ่งที่สมควรถ้าจะให้ดีควรที่จะเลือกซื้อ Mainboard ที่มี Slot AGP มาให้ด้วยเพื่อที่จะทำการอัพเกรดได้ในภายหลัง สำหรับผู้ที่มีงบประมาณมากการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ต่างหากเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงไว้ใช้งาน
AGP คืออะไร
คำว่า AGP (Accelerated Graphics Port) นั้นคือพอร์ต หรือสล็อดที่ทุกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานร่วมกับ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) เพื่อที่จะให้เพิ่มอัตรา และความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ใช้งานร่วมกับสล็อตแบบ PCI ซึ่งการพัฒนานี้ได้เริ่มมาจาก AGP 1.0 หรือ AGP1X/2X ซึ่งจะสามารถที่จะทำงานได้เท่ากับความเร็วของอัตราบัสบนระบบกล่าวคือ ถ้าใช้งานที่ระบบบัส 100MHz AGP 1X ก็จะมีความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลที่ 100MHz ด้วยซึ่งถ้าเป็นสล็อดแบบ PCI นั้นจะสามารถที่จะรับ/ส่งข้อมูลด้วยความเร็ว ? ของระบบเท่านั้นคือ 50MHz ซึ่งการพัฒนาในการใช้งานของ AGP ในปัจจุบันได้พัฒนามาถึง AGP 3.0 หรือ AGP 8X แล้ว และระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ นั้นระบบบัสในการทำงานได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าแต่ก่อนมากซึ่งเพิ่มขึ้นสูงถึง 200MHz ถ้าระบบนี้ใช้งานร่วมกับ AGP 8X แล้วความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลจะสูงถึง 200X8 =1.6GHz เลยที่เดียว และยังมีอีกหนึ่งประเภทซึ่งตอนนี้นั้นยังมีใช้งานอยู่ในเมนบอร์ดบางรุ่นเท่านั้น ซึ่งคือ APG Pro สล็อดแบบนี้จะเพิ่มส่วนที่จะให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาเพื่อที่จะรองรับการทำงานของ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้ระบบระบายความร้อนขนาดใหญ่ ซึ่งในต้อนนี้นั้น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาเหล่านี้โดยการอาศัยกระแสไฟฟ้าจาก Power Supply โดยตรง ซึ่งทำให้การใช้งานสล็อดแบบ AGP Pro ไม่มีความจำเป็น
ซึ่งในการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้น การที่จะเลือกซื้อว่าจะใช้งาน AGP 4X หรือ 8X นั้นให้เลือกดุที่ว่าเมนบอร์ดที่จะใช้จะใช้งานด้วยนั้นรองรับการทำงานด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้าเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้งาน AGP 8X ไป แต่เมนบอร์ดรองรับได้เพียงแค่ AGP 4X ก็จะสามารถที่จะใช้ได้เพียง AGP 4X ของ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) เท่านั้น จะทำให้การเลือกซื้อนั้นไม่คุ้มกับราคาที่สูญเสียไป เพราะว่า Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่รองรับการทำงานของ AGP 8X กับ AGP 4X นั้นราคายังแตกต่างกันอยู่เป็นอย่างมากถึงแม้จะใช้ชิปกราฟิกตัวเดียวกัน ซึ่งความรู้ในเรื่องของ AGP เล็กๆน้อยๆ ในครั้งนี้นั้นคงจะทำให้การตัดสินใจในการเลือกซื้อกราฟิกตัวใหม่มาใช้งานนั้นคงจะเป็นไปได้อย่างง่ายขึ้นนะครับ
ระบบระบายความร้อนก็สำคัญ
สำหรับเรื่องระบบระบายความร้อนของตัว Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับเรื่องระบบระบายความร้อนขอตัว CPU เลยทีเดียว เนื่องจากว่าชิปกราฟิกในปัจจุบันนี้นั้นมีความเร็วในการทำงานที่ค่อนข้างจะสูง และชิปกราฟิกแต่ละตัวนั้นประกอบไปด้วยจำนวนทรานซิสเตอร์ที่มีจำนวนมาก โดยบ้างรุ่นนั้นมีมากกว่าจำนวนของทรานซิสเตอร์ที่มีอยู่ในตัว CPU อีกต่างหาก โดยระบบระบายความร้อนนั้นผู้ผลิตแต่ละหลายนั้นจะมีการออกแบบที่แตกต่างกับออกไปบ้างขึ้นอยู่กับการออกแบบ และดีไซด์ในการใช้งานซึ่งในตอนนั้นเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประกอบไปด้วยฮีลซิงค์ และพัดลมระบายความร้อนอยู่อย่างแน่นอน ซึ่งการ์ดบ้างตัวนั้นจะทำการระบายความร้อนทั้งที่ตัวชิปกราฟิก และที่ตัวหน่วยความจำ ซึ่งในการทดสอบการใช้งานในหลายๆ ครั้งพบว่าถ้าความเร็วในการทำงานของหน่วยความจำสูงๆ นั้นตัวหน่วยความจำก็จะเกิดความร้อนที่สูงมากอยู่เหมือนกัน ซึ่งความร้อนนี้นั้นเป็นสิ่งที่มีผลกับการใช้งานเป็นอย่างมาก
หลายๆ ครั้งที่ชิปกราฟิก และตัวหน่วยความจำบนการ์ดนั้นมีความร้อนมาก จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดอาการรีเซตตัวเองในทันที หรือไม่ก็ทำให้เครื่องเกิดอาการค้าง หรือขึ้นจอบลูสกรีน (Blue Screen) ได้ซึ่งจะทำให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น ยิ่งในตอนที่เล่นเกมด้วยแล้วจะทำให้รู้สึกเสียอารมณ์เป็นอย่างมาก โดยความร้อนที่เกิดขึ้นนี้นั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อทำการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำการประมวลผลภาพอย่างหนักหน่วง (ส่วนใหญ่การเล่นเกมที่เป็นภาพแบบ 3มิติ นั้นจะใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) มากกว่าการทำงานอย่างอื่น ยกเว้นการใช้งานในการออกแบภาพต่างๆ) ซึ่งการใช้งานประเภทนี้นความร้อนจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ และทำการอัพเกรด Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ตัวใหม่นั้นสิ่งที่อย่างให้คำนึงถึงในการเลือกระบบระบายความร้อนที่ดีให้กับตัว Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ไว้ด้วย เพื่อที่ให้การใช้งานนั้นเป็นไปอย่างรายรื่น ไม่สะดุด และเกิดปัญหาในการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถที่จะยืดอายุในการใช้งานให้ยาวนานเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย สำหรับการเลือกซื้อ และเทคนิคการใช้งาน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นยังมีอีกมากมายทางทีมงานก็จะนำเสนอให้ได้รับทราบกันอีกต่อไป
โดยส่วนมากผู้ที่ต้องการที่จะทำการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นส่วนใหญ่จะทำการเลือกซื้อโดยอาศัยการตัดสินใจที่ตัวชิปกราฟิก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ใหม่ๆ นั้นจำเป็นต้องอาศัยการพิจารณาเอาที่เทคโนโลยีที่ถูกติดตั้งมาบนชิปกราฟิกแต่ละรุ่น อีกทั้งยังสามารถที่จะเลือกที่ความเร็วในการทำงานของชิปกราฟิกในแต่ละรุ่น เพราะว่าการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องอาศัยการประมวลผลทางด้านกราฟิกมากเป็นพิเศษ อย่างการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือใช้งานทางด้านการออกแบบภาพ และตกแต่งภาพ ทั้ง 2มิติ และ 3มิติ นั้นจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการทำงานของชิปกราฟิกด้วยกันทั้งสิ้น เนื่องจากว่าโปรแกรมต่างๆ ในตอนนี้นั้นจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการประมวลผลที่ค่อนข้างสูง เพราะมีประมาณข้อมูลที่จะนำมาสร้างขึ้นเป็นภาพนั้นมากขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก จึงต้องอาศัยความเร็วในการประมวลผลที่สูงขึ้นตามมา
RAM ก็มีผลต่อประสิทธิภาพ
ในส่วนของการเลือกซื้อ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นอกจากที่เลือกที่ชิปแล้ว หลายๆ ท่านคงจะสงสัยว่า หน่วยความจำที่ให้มาด้วยนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และใช้ทำอะไร เพราะว่าหน่วยความจำของเครื่องก็มีอยู่แล้วทำไหมต้องใช้หน่วยความจำที่ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยความจำ หรือ RAM ที่อยู่บน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นทำหน้าที่คล้ายกับหน่วยความจำที่อยู่บนเมนบอร์ด หรือหน่วยความจำหลัก แต่แตกต่างกันตรงที่หน่วยความจำหลักนั้นจะเก็บ และพักข้อมูลที่ได้จาก CPU เพื่อนำไปแสดงผล หรือเป็นข้อมูลที่กำลังให้ CPU ประมวลผลอยู่ ซึ่งสังเกตได้ว่าถ้าเครื่องไหนที่มีหน่วยความจำหลัก (RAM) มาก
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะสามารถที่เปิดโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรมได้พร้อมๆ กันโดยไม่ค่อยมีอาการค้าง หรือกระตุกให้เห็น สำหรับหน่วยความจำที่อยู่บน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) นั้นจะทำหน้าที่เก็บ และพักข้อมูลเหมือนกัน แต่จะเป็นข้อมูลที่เป็นส่วนประกอบของรูปภาพที่จะนำมาแสดงบนหน้าจอ โดยข้อมูลนั้นจะเป็นข้อมูลที่ได้จากตัว GPU หรือชิปกราฟิก นั้นเอง โดยข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำมาเก็บบนหน่วยความจำกราฟิกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่เป็นส่วนประกอบของพื้นผิวของภาพเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีหน่วยความจำสูงๆ จะสามารถที่จะทำการ Render หรือ แสดงพื้นภาพได้อย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วกว่า Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีหน่วยความจำน้อยๆ อย่างแน่นอน แต่ในช่วงที่ผ่านมานั้นทางผู้ผลิตได้ประสบปัญหาที่ใหญ่มานั้นปัญหาเรื่องคอขวด หรือการบีบอัดของข้อมูลในการแสดงภาพ เนื่องจากว่าชิปกราฟิกสามารถที่จะประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว แต่หน่วยความจำ
จะส่งข้อมูลที่ได้ละประมาณน้อยทำให้ถึงแม้ว่าความเร็วในการประมวลผลของชิปกราฟิกสูงขึ้นมากเท่าไร ความเร็วในการแสดงภาพก็ไม่เร็วขึ้นมาเท่าที่ควร ดังนั้นทางผู้ผลิตจึงต้องนำเอาหน่วยความจำรุ่นใหม่ๆ มาใช้กับชิป Graphic Card (กราฟิกการ์ด) รุ่นใหม่ด้วยอยู่เสมอ โดยใน Graphic Card (กราฟิกการ์ด) รุ่นใหม่ๆ นั้นจะนำเอาหน่วยความจำแบบ DDR, DDR II และหน่วยความจำแบบ 256bit มาใช้งาน ซึ่งหน่วยความจำบ้างตัวเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่เป็นอย่างมากแม้แต่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่มีให้เห็นกันอีกด้วยในส่วนของเรื่องข้อแต่ต่างกันระหว่างการทำงานของ Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่มีหน่วยความจำมากน้อยกว่ากันนั้นจะมีตารางคะแนนที่ได้จากการทดสอบระหว่าง Graphic Card (กราฟิกการ์ด) ที่ใช้หน่วยความจำขนาด 128MB กับ 64MB โดยใช้ชิปที่เหมือนกัน
ข้อมูลจาก :http://www.buycoms.com/buyers-guide/graphic-card/index.asp
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น